วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ท้องสนามหลวง หรือทุ่งพระเมรุ เมื่อครั้งปูหญ้าเขียวสวยงามเต็มสนาม
        ในขณะนี้บริเวณท้องสนามหลวงกำลังมีการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย
       
       สำหรับ “ท้องสนามหลวง” หรือ “ทุ่งพระเมรุ” ได้ใช้เป็นสถานที่ที่จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ และพระศพมาหลายครั้ง ตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงตัดสินพระราชหฤทัยย้ายพระนครมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์มีพระราชปณิธานที่จะสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นปึกแผ่นเกรียงไกรเช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา และสืบทอดโบราณราชประเพณีอันยิ่งใหญ่ 

ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุมาศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
        
ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุมาศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
        พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดขอบเขตพระบรมมหาราชวังขึ้น และเว้นพื้นที่ที่มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูระหว่างพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) กับพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ไว้ เพื่อประกอบพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ของพระนคร รวมถึงเป็นพื้นที่สำหรับสร้างพระเมรุมาศสำหรับประกอบพระราชพิธีออกพระเมรุส่งเสด็จองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ชั้นสูงคืนสู่สวรรคาลัย โดยพระเมรุมาศที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกบนพื้นที่แห่งนี้คือ พระเมรุมาศสำหรับประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิถวายพระราชบิดาหลังจากบ้านเมืองสงบศึก โดยถวายพระเกียรติยศเฉกเช่นการออกพระเมรุของพระเจ้าแผ่นดินเมื่อครั้งกรุงเก่า
       
       และยังมีการจัดงานพระศพเจ้านายสำคัญหลายพระองค์คือ งานพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ฯลฯ และนับแต่นั้น พื้นที่บริเวณนี้จึงเรียกกันว่า “ทุ่งพระเมรุ” สืบต่อมา
ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุมาศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
        
ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุมาศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อานันทมหิดล
        แต่ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าชื่อที่ผู้คนเรียกว่าทุ่งพระเมรุ ซึ่งนานๆ จะมีงานพระเมรุครั้ง เป็นชื่อที่ฟังดูไม่ดี จึงได้พระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า “ท้องสนามหลวง”
       
       พื้นที่ของสนามหลวงในอดีตนั้นไม่ได้มีขนาดใหญ่เหมือนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน โดยสนามหลวงแต่ดั้งเดิมนั้นมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของสนามหลวงปัจจุบันเท่านั้นเอง แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงรื้อป้อมปราการต่างๆในเขตพื้นที่วังหน้าออก และขยายสนามหลวงให้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งยังได้ปลูกต้นมะขามไว้โดยรอบสนามหลวงจำนวน 365 ต้น ซึ่งต้นมะขามเหล่านั้นก็เติบโตแผ่กิ่งก้านให้ความร่มรื่นรอบสนามหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
       
       หน้าที่ของทุ่งพระเมรุหรือท้องสนามหลวงจากอดีตมาจนปัจจุบันนั้นถือว่ามีความหลากหลายมากทีเดียว เพราะมีตั้งแต่การเป็นท้องนาปลูกข้าว ไปจนถึงเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีพืชมงคลและพิธีพิรุณศาสตร์ จนเมื่อมีการเลิกทำนาในท้องสนามหลวงไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ท้องสนามหลวงก็ยังได้ใช้เป็นที่ประกอบพิธีต่างๆ เช่น การฉลองพระนครครบ 100 ปี งานฉลองเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปในพ.ศ. 2440 จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 สนามหลวงก็ยังใช้เป็นสนามแข่งม้า สนามกอล์ฟอีกด้วย 

ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
        
ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ
        มาปัจจุบัน ท้องสนามหลวงก็ยังคงเป็นสถานที่จัดงานสำคัญของชาติอยู่เช่นเคย ไม่ว่าจะเป็น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ งานเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ไปจนถึงงานของประชาชนอย่างงานเทศกาลว่าวและกีฬาไทย หรือแม้กระทั่งการชุมนุมทางการเมือง
       
       แม้จะมีประกาศให้เลิกเรียกสถานที่แห่งนี้ว่าทุ่งพระเมรุมานานแล้วก็ตาม แต่หน้าที่ของสนามหลวงในความเป็น "ทุ่งพระเมรุ" ก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม โดยได้ใช้เป็นสถานที่ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ในราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-8 (ยกเว้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งเสด็จสวรรคตที่ประเทศอังกฤษและได้จัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพที่ประเทศอังกฤษเช่นกัน) รวมไปถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงอีกหลายพระองค์
       
       พระเมรุมาศในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 1-4 ยึดหลักการสร้างแบบพระเมรุมาศตามตำราโบราณราชประเพณีครั้งกรุงเก่าทุกประการ คือ ทำเป็นพระเมรุอย่างใหญ่ มีตัวพระเมรุ 2 ชั้นต่างไปอยู่ภายในพระเมรุชั้นนอกที่ทำเป็นพระเมรุยอดปรางค์หรือยอดรูปดอกข้าวโพด 

ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
        
ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ท้องสนามหลวงปัจจุบันที่กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงพื้นที่
        ส่วนพระเมรุมาศในสมัยรัชกาลที่ 5-8 ลักษณะของพระเมรุมาศเป็นเพียงพระเมรุชั้นเดียว ได้ถอดเอาพระเมรุใหญ่ ซึ่งเป็นพระเมรุทรงปรางค์ที่คลุมอยู่ภายนอกออกไป คงไว้เพียงพระเมรุทอง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า พระเมรุมาศ
       
       สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีการจัดสร้างพระเมรุมาศ และพระเมรุ ทั้งหมด 4 ครั้งด้วยกัน ได้แก่ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ในปี 2527 งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปี 2538 งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในปี 2551 และงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในปี 2554
       
       และในขณะนี้ ที่ท้องสนามหลวงก็กำลังเตรียมพื้นที่ที่บริเวณท้องสนามหลวงเพื่อเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยจะเริ่มก่อสร้างพระเมรุมาศในช่วงต้นปีหน้า
       
       สำหรับการเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงเป็นองค์วินิจฉัยปัญหาต่างๆ ในรายละเอียดการก่อสร้างพระเมรุมาศ อีกทั้งยังต้องมีการก่อสร้างศาลาทรงธรรมที่สำหรับประทับและรับแขก มีศาลาพลับพลาสำหรับประชาชน พร้อมด้วยสิ่งก่อสร้างอื่นๆ สถานที่สำหรับพระสงฆ์ขึ้นนั่งสวดประจำสี่ทิศ โดยในการสร้างพระเมรุมาศในครั้งนี้จะเป็นการรวบรวมช่างฝีมือหลายแขนง ที่ต่างก็ต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างพระเมรุมาศให้งดงามและสมพระเกียรติที่สุดถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศของประชาชนชาวไทย 

ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ท้องสนามหลวงที่จะเป็นที่ตั้งพระเมรุมาศในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9

วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม


พระร่วงโรจนฤทธิ์ 
ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งได้พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทมาจากเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์ เต็มองค์ทำพิธีหล่อที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ.2456 เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย เสร็จแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในซุ้มวิหารด้านเหนือตรงกับบันไดใหญ่ และพระราชทานนามว่าพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร และที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของ พระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งได้พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทมาจากเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์ เต็มองค์ทำพิธีหล่อที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ.2456 เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย เสร็จแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในซุ้มวิหารด้านเหนือตรงกับบันไดใหญ่ และพระราชทานนามว่าพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร และที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประโทณเจดีย์ เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่และใหญ่โตเป็นที่สองรองจากพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่ที่วัดประโทณ ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากองค์ พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร ถือกันว่าเป็นที่บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวง พระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้า เดิมเป็นเจดีย์เก่าแก่และได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ในรัชกาลที่ 4 โบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณนี้มีหลายอย่างเช่น พระพุทธรูป ลูกประคำ พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวาราวดี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระประโทณเจดีย์  เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่และใหญ่โตเป็นที่สองรองจากพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่ที่วัดประโทณ ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากองค์ พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร ถือกันว่าเป็นที่บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวง พระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้า เดิมเป็นเจดีย์เก่าแก่และได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ในรัชกาลที่ 4 โบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณนี้มีหลายอย่างเช่น พระพุทธรูป ลูกประคำ พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวาราวดี
เนินธรรมศาลาอยู่ที่วัดธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลา ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางตะวันออกประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่ทางด้านใต้ของ ถนนสายเพชรเกษม เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับ วัดพระเมรุก่อนทำการขุดค้น เนินนี้ยังมิได้ทำ การขุดค้นเช่นเดียวกับ เนินวัดพระงาม เพราะมีสิ่งสร้างอยู่หน้าเนิน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนินธรรมศาลา อยู่ที่วัดธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลา ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางตะวันออกประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่ทางด้านใต้ของ ถนนสายเพชรเกษม เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับ วัดพระเมรุก่อนทำการขุดค้น เนินนี้ยังมิได้ทำ การขุดค้นเช่นเดียวกับ เนินวัดพระงาม เพราะมีสิ่งสร้างอยู่หน้าเนิน
เนินพระหรือเนินยายหอม อยู่ที่ตำบลดอนยายหอม   เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่มากเมื่อ พ.ศ.2479 พระธรรมวาทีคณาจารย์ (หลวงพ่อเงิน) เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ได้ขุดเอาอิฐที่หักพังแถวชานเนิน ไปสร้าง พระอุโบสถ เมื่อขุดลึกลงไปเล็กน้อยก็พบศิลาเหลี่ยมเขียวสองต้น สูงประมาณ 4 เมตร มีลายจำหลักที่ปลายเสา คล้ายกับเสา ประตูสัญจิเจดีย์ของพระเจ้าอโศกมหาราชกับกวางหมอบ ทำด้วยศิลา 1 ตัว พระพุทธรูปศิลาสมัยทวาราวดี 1 องค์ พระเสมาธรรมจักรทำด้วยหินแต่หักพัง เสาศิลานี้ตอนบนง่ามสำหรับวางพระเสมาธรรมจักร เป็นแบบเดียวกับที่พบในบริเวณองค์พระ ปฐมเจดีย์ วัดพระงาม วัดพระประโทณ และแบบพระราชวังสนามจันทร์ เสาศิลานี้ เวลานี้อยู่ที่วัด ดอนยายหอม ส่วนกวางหมอบ กับพระพุทธรูป ส่งไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนินพระหรือเนินยายหอม  อยู่ที่ตำบลดอนยายหอม   เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่มากเมื่อ พ.ศ.2479 พระธรรมวาทีคณาจารย์ (หลวงพ่อเงิน) เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม ได้ขุดเอาอิฐที่หักพังแถวชานเนิน ไปสร้าง พระอุโบสถ เมื่อขุดลึกลงไปเล็กน้อยก็พบศิลาเหลี่ยมเขียวสองต้น สูงประมาณ 4 เมตร มีลายจำหลักที่ปลายเสา คล้ายกับเสา ประตูสัญจิเจดีย์ของพระเจ้าอโศกมหาราชกับกวางหมอบ ทำด้วยศิลา 1 ตัว พระพุทธรูปศิลาสมัยทวาราวดี 1 องค์ พระเสมาธรรมจักรทำด้วยหินแต่หักพัง เสาศิลานี้ตอนบนง่ามสำหรับวางพระเสมาธรรมจักร เป็นแบบเดียวกับที่พบในบริเวณองค์พระ ปฐมเจดีย์ วัดพระงาม วัดพระประโทณ และแบบพระราชวังสนามจันทร์ เสาศิลานี้ เวลานี้อยู่ที่วัด ดอนยายหอม ส่วนกวางหมอบ กับพระพุทธรูป ส่งไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เมืองกำแพงแสนเป็นเมืองโบราณเก่าแก่อยู่ทางทิศเหนือห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร มีถนนตัดไปถึงซากกำแพงดิน คูเมืองยังอยู่ ชัดเจนมีผู้ขุดพบพระพุทธรูปและสิ่งก่อสร้างหลายชิ้นเป็นแบบ ทวาราวดีทั้งสิ้น แต่ฝีมือไม่ประณีตเหมือนที่ขุดได้ที่เมือง นครปฐม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมืองกำแพงแสน
หมู่บ้านไทยโซ่งตั้งอยู่ที่บ้านเกาะแรด ตำบลบางปลา อำเภอบางเลน เชื้อสายไทยโซ่ง หรือไทยทรงดำ (เนื่องจากชาวไทย โซ่งชอบ ใช้เครื่องแต่งกายสีดำ) หรือลายโซ่ง อพยพมาจากบ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี มีวัฒนธรรมและประเพณีของตนเอง นอกจากนั้นภายใน หมู่บ้าน มีหัตถกรรม ที่น่าสนใจ ได้แก่ การทอผ้า และเครื่องจักสานต่าง ๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมู่บ้านไทยโซ่ง
สวนสามพรานเป็นสถานที่พักผ่อนตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 32 กิโลเมตร อยู่ติดแม่น้ำนครชัยศรี มีเนื้อที่ 137.5 ไร่ ภายในจัดแต่งเป็นสวนดอกไม้นานาชนิด หมู่บ้านไทย และบางส่วนเป็น โรงแรม ที่พัก และสนามกอล์ฟ นอกจากนี้ยังมีการแสดงพื้นบ้านให้ชมในช่วงบ่ายเป็นประจำทุกวัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สวนสามพราน เป็นสถานที่พักผ่อนตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 32 กิโลเมตร อยู่ติดแม่น้ำนครชัยศรี มีเนื้อที่ 137.5 ไร่ ภายในจัดแต่งเป็นสวนดอกไม้นานาชนิด หมู่บ้านไทย และบางส่วนเป็น โรงแรม ที่พัก และสนามกอล์ฟ นอกจากนี้ยังมีการแสดงพื้นบ้านให้ชมในช่วงบ่ายเป็นประจำทุกวัน
ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพรานเป็นสวนสัตว์ นานาชนิด มีการแสดงโชว์ของช้าง และ การจับจระเข้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลานแสดงช้างและฟาร์มจระเข้สามพราน เป็นสวนสัตว์ นานาชนิด มีการแสดงโชว์ของช้าง และ การจับจระเข้
พุทธมณฑลเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี และตำบลบางระทึก อำเภอสามพราน มีพื้นที่ 2,500 ไร่ จากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษมถึงกิโลเมตรที่ 22 เลี้ยวขวาตามถนนพุทธมณฑล สาย 4 ประมาณ 8 กิโลเมตร หรือเดินทางไปตามถนนสายปิ่นเกล้า - พุทธมณฑล ระยะทาง 19 กิโลเมตร พุทธมณฑลเป็นสถานที่ซึ่งรัฐบาล และประชาชนชาวไทยร่วมใจกันจัดสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาได้ถึง 2,500 ปี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พุทธมณฑล
สวนศิลปะ มีเซียม ยิบอินซอยตั้งอยู่ถนนพุทธมณฑล สาย 7   เป็นที่รวบรวมประติ มากรรมของคุณมีเซียม ยิบอินซอย เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า และ จัดสร้าง สวนนิทรรศการชั่วคราวในรูปของ หอศิลปะ และสวนศิลปะกลางแจ้ง เพื่อให้การสนับสนุน ศิลปิน ซึ่งต้องการเผยแพร่ผลงานของตนเปิดให้เข้าชมปีละครั้ง คือ วันที่ 19 สิงหาคม เท่านั้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สวนศิลปะ มีเซียม
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ตั้งอยู่ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี เป็นสถานที่จัดแสดงหุ่น ขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส ซึ่งเป็นผลงานสร้าง - สรรค์ของกลุ่มศิลปินไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะส่งเสริมเผยแพร่และ อนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมประเพณีของไทย ประกอบด้วยหุ่นชุดต่างๆ ได้แก่ ชุดพระอริยสงฆ์ ชุดพระบรมรูป พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี และชุดมุมหนึ่งของชีวิต
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
อุทยานปลาตั้งอยู่ตำบลห้วยพลู มีปลามาอยู่รวมกันโดยธรรมชาติได้แก่ ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาตะเพียน ปลาหางแดง ซึ่งอยู่ในแม่นํ้าท่าจีน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุทยานปลา นครปฐม

สูตร สปาเก็ตตี้คาโบนาร่า (Spaghetti Carbonara)

สปาเก็ตตี้คาโบนาร่า (Spaghetti Carbonara) หรือ สปาเก็ตตี้ซอสขาว เป็นสปาเก็ตตี้ที่ให้รสชาติผู้ดีมากๆ ทำไม่ยาก เรามาดูวิธีทำกันเถอะ!!!

ส่วนผสม สำหรับ 2 คน:

  1. เส้นสปาเก็ตตี้ 200 กรัม
  2. เบคอนหั่นหยาบๆ 80 กรัม
  3. พาเมซานชีสขูด มากน้อยตามใจชอบ
  4. ไข่แดง 2 ฟอง
  5. วิปปิ้งครีม หรือ นมจืด 200 กรัม
  6. แป้งสาลี 1 ช้อนโต๊ะ
  7. กระเทียม 5 กลีบสับละเอียด
  8. หัวหอมสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
  9. น้ำมันปรุงอาหาร 1 ช้อนโต๊ะ
  10. เกลือ และ พริกไทยดำ

วิธีทำ:

  1. นำไข่แดงใส่ชาม เทวิปปิ้งครีม หรือ นมจืดลงไป พร้อมใส่แป้งสาลี คนผสมให้เข้ากันจนเนียนข้น
  2. ลวกเส้นสปาเก็ตตี้ ให้นิ่มเตรียมไว้
  3. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมัน ใส่กระเทียม หัวหอม ลงผัดจนหอม แล้วใส่เบคอนลงไปผัดจนสุก เทส่วนผสมที่เตรียมไว้ในข้อ 1 ลงไป ปรุงรสด้วยเกลือ รอจนเดือด ปิดไฟ แล้วใส่เส้นสปาเก็ตตี้ที่ลวกไว้ลงไปคลุกให้เข้ากัน
  4. ตักใส่จานโรยด้วยพาเมซานชีสขูด เสิร์ฟทานร้อนๆ

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

20 เพลงฮิตวันวาน ที่วัยรุ่นยุค 90 ต้องรู้จัก

ถอยดีกว่า – อ้อม สุนิสา
สาวน้อยสุดห้าวที่มาพร้อมกับเพลงเร็วจังหวะติดหู ฟังง่ายๆ ภาษากวนๆ จนทำให้เด็กวัยรุ่นร้องและเต้นตามกันเป็นแถว
ลาออก – บิลลี่ โอแกน                                                                                                                         
เพลงนี้เป็นตัวแทนหนุ่มสาวออฟฟิศยุคนั้น ที่ทำงานหนักจนอยากจะขอเจ้านายลาออกกันให้รู้แล้วรู้รอดไป
1991

พริกขี้หนู – เบิร์ด ธงไชย
ตลอดช่วงปี 90 ต้องบอกเลยว่ามันเป็นช่วงเวลาของเบิร์ด ธงไชย เพลงพริกขี้หนูคือความสำเร็จต่อเนื่องจากเพลงคู่กัด แน่นอนว่าตอนนี้รุ่นลูก รุ่นหลาน รวมทั้งรุ่นเรายังร้องได้ดี รวมทั้งยังคงเรียกว่า “พี่เบิร์ด” เหมือนเดิม

ประวัติศาสตร์ – คริสติน่า อากีล่าร์

ราชินีเพลงแดนซ์ส่งเพลงนี้ให้ฮิตไปทั่วบ้านทั่วเมือง เปิดที่ไหนทุกคนเต้นตามที่นั่น เพลงว่าด้วยความเท่าเทียมของชายกับหญิงที่เป็นประเด็นที่ถูกพูดกันมากในยุคนั้นจนถึงยุคนี้ ด้วยคำร้องติดหูและจังหวะที่สนุกสนานก็ทำเพลงให้ถูกเปิดอย่างแผ่หลายทุกคลื่นวิทยุ
1992

ไม่อ้วนเอาเท่าไร – มะ-ลิ-ลา บราซิลเลี่ยน
เพราะความน่ารักของเพลงนี้ เลยส่งผลให้วง มะ-ลิ-ลา บราซิลเลี่ยน กลายเป็นวงดนตรีเต้นรำที่ได้รับความนิยม ด้วยจังหวะและเนื้อหาเอาใจสาวๆ ทำให้เพลงนี้กลายเป็นคลาสสิคฮิตจนถึงปัจจุบัน

ทะเลใจ – อี๊ด โอภากุล & แอ๊ด โอภากุล
สุดยอดเพลงเพื่อชีวิตที่ถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างลงตัว เนื้อหาในแง่มุมของการใช้ชีวิตตั้งแต่เด็กจนเติบโต นำมาปรับใช้ได้กับทุกคน เป็นเพลงดีที่ไม่ว่าใครๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธได้
1993

นางแมว – หิน เหล็ก ไฟ
เป็นเพลงร็อคแบบดุเด็ดเผ็ดมัน  ที่ไม่มีใครไม่รู้จักโดยเฉพาะท่อนที่ร้องว่า “ไปๆ ...ไปลงนรกซะเถอะที่รัก ฉันจะลงโทษเธอ” กลายเป็นวลีเด็ดที่ติดปากวัยรุ่นยุคนั้น

คาใจ – เจ เจตริน
เป็นเพลงอกหักแต่ไม่ยักกะตาย เพลงนี้ไม่ได้ดังแค่เพลง แต่มันนำมาซึ่งท่าเต้นแบบที่เรียกว่า “โยว่” ในสไตล์ฮิปฮอปที่ต้องบอกเลยว่าโดนใจวัยเรามากๆ
1994

บุษบา – Moderndog
ยุค 90 กับเพลงอัลเทอร์เนทีฟเราไม่สามารถข้ามวงนี้ไปได้เลย “Moderndog” ที่จับกลุ่มวัยรุ่นนอกกระแสด้วยบุคลิกที่แตกต่างและแปลกใหม่อย่างสิ้นเชิง ถือเป็นผู้ที่ทำให้คนไทยรู้จักดนตรีแนวนี้ก็ว่าได้ และบุษบาก็เป็นเพลงร็อคที่มันส์จริงๆ

ไอ้หนุ่มผมยาว – ดนู ฮันตระกูล (ร้องโดย สุรชัย สมบัติเจริญ)
เป็นเพลงลูกทุ่งที่โดดเด่นสุดๆในยุคนั้น ในแง่ดนตรี ดนู ฮันตระกูล ได้ย้อนกลับไปใช้เครื่องเป่าและดนตรีสดแบบลูกทุ่งดั้งเดิม บวกกับได้ทายาทราชาลูกทุ่งอย่าง สุรชัย สมบัติเจริญ มาช่วยขับกล่อมให้น่าฟังยิ่งขึ้น
1995

พรุ่งนี้...ไม่สาย – ทาทา ยัง
ถ้าโตมาในยุค 90 แล้วไม่มีใครไม่รู้จักสาวน้อยมหัศจรรย์ “ทาทา ยัง” โด่งดังมากกับแฟชั่นเสื้อเอวลอยลายการ์ตูนโซนิค และกางเกง oversized กับรองเท้าสลับสี มาพร้อมกับเพลงชาติของเด็กมัธยมสมัยนั้นอย่าง “พรุ่งนี้ไม่สาย” เป็นเพลงที่มีมุมมองในเรื่องความรักของวัยรุ่นที่น่าจะทำให้พ่อแม่แฮปปี้ได้ไม่น้อย

ฤดูที่แตกต่าง – บอย โกสิยพงษ์ (ร้องโดย นภ พรชำนิ)
เป็นเพลงสุดคลาสสิค เมื่อไรที่ท้อแท้สิ้นหวังเพลงนี้ก็ลอยมาตลอดๆ โดยเฉพาะเมื่อได้ยินเสียงร้องของ นภ พรชำนิ ด้วยความนุ่ม ทุ้มและดนตรีแบบป๊อปอาร์แอนด์บีซึ่งถือว่าใหม่มากในยุคนั้น ทำให้เพลงโด่งดังจนทุกวันนี้ก็ยังมีความทันสมัยไม่เสื่อมคลาย
1996

ลอยทะเล – Joey Boy
เพลงสุดฮิตของแร็ปเปอร์ระดับตำนาน โจอี้ บอย นับว่าเป็นผู้บุกเบิกเพลงแร็ปคนแรกในประเทศไทยก็ว่าได้ แนวเพลงบวกกับบุคลิกส่วนตัวของโจอี้ บอย ทำให้อัลบั้มนี้และเพลง “ลอยทะเล” กลายเป็นเพลงฮิตในผับ บาร์ อีกทั้งยังเป็นศิลปินจากค่ายเล็กๆที่ชื่อเบเกอรี่มิวสิคซึ่งเป็นค่ายอินดี้ที่มีสาวกอยู่ไม่น้อย

ไม่ต้องห่วงฉัน – Loso
อีกหนึ่งกลุ่มศิลปินที่ดูธรรมดาแต่เพลงของเขาหลายๆเพลงกลับครองใจหลายๆคน “ไม่ต้องห่วงฉัน” เพลงแรกของเขาที่ทำให้คนไทยได้รู้จักวงเล็กๆที่ชื่อว่า “โลโซ” ถูกใจคนทุกชนชั้น และฟันเฟืองสำคัญของวงคือ เสก โลโซ ซึ่งได้ออกอัลบั้มเดี่ยวในเวลาต่อมา
1997

ไม่อาจเปลี่ยนใจ – เจมส์ เรืองศักดิ์
เพลงนี้เป็นไฮไลท์ของปีเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะหมุนหน้าปัดวิทยุไปที่คลื่นไหนก็พร้อมใจกันเปิดเพลงนี้วันละหลายๆรอบ แต่ต้องยอมรับว่า เป็นเพลงเพราะคุณภาพดีเพลงหนึ่งของอาร์เอส ประกอบกับเป็นช่วงพีคของ เจมส์ เรืองศักดิ์จึงทำให้เพลงนี้กลายเป็นเพลงที่ถูกเปิดมากที่สุดตามคลื่นวิทยุของปีนั้น

เกรงใจ – The Next (ร้องโดย Raptor)
เป็นเพลงพิเศษที่อยู่ในอัลบั้ม The Next Generation โดยรวบรวมศิลปินดังของ RS มาร้องเพลงที่ต่างขึ้นใหม่ เกรงใจไม่ได้ดังแค่เพลง แต่ท่าเต้นก็ถูกนำมาเต้นกันยาวนานจนปัจจุบันนี้
1998

ยาม – Labanoon
เพลงแจ้งเกิดของวงร็อคชาวใต้ ขวัญใจคนทั้งประเทศ “ลาบานูน” ด้วยวิธีการร้องที่ดึงเอาเอกลักษณ์สำเนียงแบบชาวใต้และเนื้อร้องที่เข้าถึงได้ง่าย เพลง “ยาม” จึงเป็นที่นิยมมากและทำให้วงนี้ก้าวขึ้นเป็นวงน้องใหม่ที่ถูกจับตามองมากที่สุด

อยากได้ยินว่ารักกัน – อัสนี & วสันต์
เพลงซอฟท์ๆจากศิลปินดูโอร็อคระดับตำนานเพลงนี้ทำให้เรารู้ว่าพี่ๆเขาก็มีมุมมุ้งมิ้งได้เหมือนกัน แต่เพลงนี้ต้องพูดถึงเอ็มวีที่ได้ เรย์ แม็คโดนัลด์และกอหญ้า พระเอก-นางเอกที่ดูแล้วเหมาะสมและดูเข้ากับเพลงนี้เป็นอย่างดี
1999

หมวยนี่คะ – China Dolls
แจ้งเกิดได้อย่างสวยงามสำหรับสองสาวดูโอขาแดนซ์ เบลล์และหว่าหวาในนามวง “ไชน่า ดอลล์” เพลงนี่ฮิตติดผับไปทุกคืนก็ได้ยินทุกคืน พร้อมท่อนแร็ปภาษาจีนที่ฟังไม่เคยรู้เรื่องแต่ทำไมมันส์ได้ก็ไม่รู้

หัวใจกระดาษ – อู๋ ธรรพ์ณธร
จำได้ว่าเพลงนี้ดังชนิดที่เรียกว่าใครๆก็ร้องตามได้ และเนื้อเพลงก็สวยงามเป็นการเปรียบเทียบคนหลายใจที่มีหัวใจเป็นดั่งเช่นกระดาษที่ขาดง่าย โดนลมเข้าหน่อยก็ปลิวหายไปซะแล้ว เพลงนี้ส่งให้ “อู๋ ธรรณธร” โด่งดังแบบหยุดไม่อยู่

ประวัติความเป็นมา Human Tower

ที่มา อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ตามประเพณี Muixernga ของAlgemesíในวาเลนเซียประเพณีของคาเทโลเนียในคาเทโลเนียเกิดขึ้นในบอล dels วาเลนเซีย (เชียน...