วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ท้องสนามหลวง หรือทุ่งพระเมรุ เมื่อครั้งปูหญ้าเขียวสวยงามเต็มสนาม
        ในขณะนี้บริเวณท้องสนามหลวงกำลังมีการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย
       
       สำหรับ “ท้องสนามหลวง” หรือ “ทุ่งพระเมรุ” ได้ใช้เป็นสถานที่ที่จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ และพระศพมาหลายครั้ง ตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงตัดสินพระราชหฤทัยย้ายพระนครมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์มีพระราชปณิธานที่จะสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นปึกแผ่นเกรียงไกรเช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา และสืบทอดโบราณราชประเพณีอันยิ่งใหญ่ 

ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุมาศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
        
ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุมาศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
        พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดขอบเขตพระบรมมหาราชวังขึ้น และเว้นพื้นที่ที่มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูระหว่างพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) กับพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ไว้ เพื่อประกอบพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ของพระนคร รวมถึงเป็นพื้นที่สำหรับสร้างพระเมรุมาศสำหรับประกอบพระราชพิธีออกพระเมรุส่งเสด็จองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ชั้นสูงคืนสู่สวรรคาลัย โดยพระเมรุมาศที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกบนพื้นที่แห่งนี้คือ พระเมรุมาศสำหรับประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิถวายพระราชบิดาหลังจากบ้านเมืองสงบศึก โดยถวายพระเกียรติยศเฉกเช่นการออกพระเมรุของพระเจ้าแผ่นดินเมื่อครั้งกรุงเก่า
       
       และยังมีการจัดงานพระศพเจ้านายสำคัญหลายพระองค์คือ งานพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ฯลฯ และนับแต่นั้น พื้นที่บริเวณนี้จึงเรียกกันว่า “ทุ่งพระเมรุ” สืบต่อมา
ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุมาศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
        
ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุมาศในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อานันทมหิดล
        แต่ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าชื่อที่ผู้คนเรียกว่าทุ่งพระเมรุ ซึ่งนานๆ จะมีงานพระเมรุครั้ง เป็นชื่อที่ฟังดูไม่ดี จึงได้พระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า “ท้องสนามหลวง”
       
       พื้นที่ของสนามหลวงในอดีตนั้นไม่ได้มีขนาดใหญ่เหมือนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน โดยสนามหลวงแต่ดั้งเดิมนั้นมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของสนามหลวงปัจจุบันเท่านั้นเอง แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงรื้อป้อมปราการต่างๆในเขตพื้นที่วังหน้าออก และขยายสนามหลวงให้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งยังได้ปลูกต้นมะขามไว้โดยรอบสนามหลวงจำนวน 365 ต้น ซึ่งต้นมะขามเหล่านั้นก็เติบโตแผ่กิ่งก้านให้ความร่มรื่นรอบสนามหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
       
       หน้าที่ของทุ่งพระเมรุหรือท้องสนามหลวงจากอดีตมาจนปัจจุบันนั้นถือว่ามีความหลากหลายมากทีเดียว เพราะมีตั้งแต่การเป็นท้องนาปลูกข้าว ไปจนถึงเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีพืชมงคลและพิธีพิรุณศาสตร์ จนเมื่อมีการเลิกทำนาในท้องสนามหลวงไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ท้องสนามหลวงก็ยังได้ใช้เป็นที่ประกอบพิธีต่างๆ เช่น การฉลองพระนครครบ 100 ปี งานฉลองเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปในพ.ศ. 2440 จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 สนามหลวงก็ยังใช้เป็นสนามแข่งม้า สนามกอล์ฟอีกด้วย 

ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
        
ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ
        มาปัจจุบัน ท้องสนามหลวงก็ยังคงเป็นสถานที่จัดงานสำคัญของชาติอยู่เช่นเคย ไม่ว่าจะเป็น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ งานเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ไปจนถึงงานของประชาชนอย่างงานเทศกาลว่าวและกีฬาไทย หรือแม้กระทั่งการชุมนุมทางการเมือง
       
       แม้จะมีประกาศให้เลิกเรียกสถานที่แห่งนี้ว่าทุ่งพระเมรุมานานแล้วก็ตาม แต่หน้าที่ของสนามหลวงในความเป็น "ทุ่งพระเมรุ" ก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม โดยได้ใช้เป็นสถานที่ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ในราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-8 (ยกเว้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งเสด็จสวรรคตที่ประเทศอังกฤษและได้จัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพที่ประเทศอังกฤษเช่นกัน) รวมไปถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงอีกหลายพระองค์
       
       พระเมรุมาศในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 1-4 ยึดหลักการสร้างแบบพระเมรุมาศตามตำราโบราณราชประเพณีครั้งกรุงเก่าทุกประการ คือ ทำเป็นพระเมรุอย่างใหญ่ มีตัวพระเมรุ 2 ชั้นต่างไปอยู่ภายในพระเมรุชั้นนอกที่ทำเป็นพระเมรุยอดปรางค์หรือยอดรูปดอกข้าวโพด 

ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระเมรุในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
        
ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ท้องสนามหลวงปัจจุบันที่กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงพื้นที่
        ส่วนพระเมรุมาศในสมัยรัชกาลที่ 5-8 ลักษณะของพระเมรุมาศเป็นเพียงพระเมรุชั้นเดียว ได้ถอดเอาพระเมรุใหญ่ ซึ่งเป็นพระเมรุทรงปรางค์ที่คลุมอยู่ภายนอกออกไป คงไว้เพียงพระเมรุทอง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า พระเมรุมาศ
       
       สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีการจัดสร้างพระเมรุมาศ และพระเมรุ ทั้งหมด 4 ครั้งด้วยกัน ได้แก่ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ในปี 2527 งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปี 2538 งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในปี 2551 และงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในปี 2554
       
       และในขณะนี้ ที่ท้องสนามหลวงก็กำลังเตรียมพื้นที่ที่บริเวณท้องสนามหลวงเพื่อเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยจะเริ่มก่อสร้างพระเมรุมาศในช่วงต้นปีหน้า
       
       สำหรับการเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงเป็นองค์วินิจฉัยปัญหาต่างๆ ในรายละเอียดการก่อสร้างพระเมรุมาศ อีกทั้งยังต้องมีการก่อสร้างศาลาทรงธรรมที่สำหรับประทับและรับแขก มีศาลาพลับพลาสำหรับประชาชน พร้อมด้วยสิ่งก่อสร้างอื่นๆ สถานที่สำหรับพระสงฆ์ขึ้นนั่งสวดประจำสี่ทิศ โดยในการสร้างพระเมรุมาศในครั้งนี้จะเป็นการรวบรวมช่างฝีมือหลายแขนง ที่ต่างก็ต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างพระเมรุมาศให้งดงามและสมพระเกียรติที่สุดถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศของประชาชนชาวไทย 

ย้อนอดีต “สนามหลวง-ทุ่งพระเมรุ” สถานที่ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ท้องสนามหลวงที่จะเป็นที่ตั้งพระเมรุมาศในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติความเป็นมา Human Tower

ที่มา อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ตามประเพณี Muixernga ของAlgemesíในวาเลนเซียประเพณีของคาเทโลเนียในคาเทโลเนียเกิดขึ้นในบอล dels วาเลนเซีย (เชียน...